ประจุไฟฟ้า
Tab Menu 8
!doctype>วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ตัวอย่างโครงงาน การสำรวจพืชสมุนไพร
การสำรวจพืชสมุนไพร
ในโรงเรียนและท้องถิ่น
ผู้จัดทำโครงงาน
เด็กหญิงอลิษา ศุภผล ม.3/3
เด็กหญิงอลิษา ชัยวงศ์ ม.3/3
เด็กหญิงอัมพิกา อนุเคราะห์ ม.3/3
ครูที่ปรึกษา
นายสุริยา บุดดี
ตำแหน่ง ครู คศ. 1
โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 4
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
การสำรวจพืชสมุนไพรในโรงเรียนและท้องถิ่น
ผู้จัดทำโครงงาน
เด็กหญิงอลิษา ศุภผล ม.3/3
เด็กหญิงอลิษา ชัยวงศ์ ม.3/3
เด็กหญิงอัมพิกา อนุเคราะห์ ม.3/3
คุณครูที่ปรึกษา
นายสุริยา บุดดี
ตำแหน่ง ครู คศ. 1
โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 4
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ
จากการสำรวจพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมและหมู่บ้าน หล่ายงาว ระหว่างเดือนมิถุนายน 2550 ถึงเดือนสิงหาคม 2550 พบพืชสมุนไพรทั้งหมด 22 ชนิด โดยจำแนกพืชสมุนไพร ตามลักษณะภายนอกพืชเป็น ไม้ยืนต้น 2 ชนิด ได้แก่มะนาวและขี้เหล็ก ไม้พุ่ม 7 ชนิด ได้แก่ ฝรั่ง กะเพรา พญายอ น้อยหน่า ชุมเห็ดเทศ หม่อน และ มะเขือพวง ไม้ล้มลุก 10 ชนิด ได้แก่ ขมิ้น กล้วยน้ำว้า กระเทียม ขิง ข่า ว่านหางจระเข้ ตะไคร้ กระเจี๊ยบแดง ฟ้าทะลายโจร และ ไพล ไม้เลื้อยหรือไม้เถา 3 ชนิด ได้แก่ บัวบก ตำลึงและ กวาวเครือขาว
พืชสมุนไพร ทั้ง 22 ชนิดที่พบ จะมี ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสรรพคุณของพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคนั้น ๆ
กิตติกรรมประกาศ
ในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “การสำรวจพืชสมุนไพรในโรงเรียนและท้องถิ่น”
นี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากคณะครู นักเรียน นักการภารโรง โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม และผู้ปกครองนักเรียน ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสำรวจพืชสมุนไพร ในบริเวณโรงเรียนและหมู่บ้านหล่ายงาว
ขอขอบพระคุณ นายสุริยา บุดดี ครู คศ.1 โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ที่ได้กรุณาช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษา นายนิทัศน์ สิทธิยศ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม นางสาวศุจีภรณ์ อาจนาเสียว รองผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและให้งบประมาณสนับสนุน การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์นี้ จนทำให้โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “การสำรวจพืชสมุนไพรในโรงเรียนและท้องถิ่น” สำเร็จลงได้ด้วยดี คณะผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ จึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
คณะผู้จัดทำ
15 สิงหาคม 2550
คำนำ
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “การสำรวจพืชสมุนไพรในโรงเรียนและท้องถิ่น”
ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ที่เปิดโอกาสให้มีการฝึกปฏิบัติ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันคือ “การปฏิรูปการศึกษา”
คนไทยเราใช้สมุนไพรต่างๆมาเยียวยาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่สมัยอดีตที่มีวิทยาการแพทย์ยังไม่ก้าวล้ำนำสมัยเฉกเช่นในปัจจุบันนี้สมุนไพร ชนิดต่างๆล้วนมีสรรพคุณเป็นโดยไม่ค่อยจะมีฤทธิ์ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ใดๆอย่างที่ยาฝรั่งสมัยนี้มีแม้ว่าในปัจจุบันจะสะดวกสบายกับยาแผนปัจจุบันที่มีขายอยู่ทั่วไป แต่การเรียนรู้จักสมุนไพรไทยไว้บ้างก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ว่าสมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณทางยาอย่างไร และจะนำมาตำหรือต้มอย่างไรจึงจะถูกทางกับโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านเป็นยาตำรับพื้นๆ เช่น รักษาอาการผดผื่น พุพอง เป็นลมพิษ หรืออักเสบเพราะแมลงกัดต่อย รักษาหิด เหา กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน บรรเทาอาการหอบหืด รักษารังแค ผมร่วงและอาการไม่สบายต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งทำได้ง่ายๆ เพราะมิใช่ตำรับยาที่มีขั้นตอนการปรุงซับซ้อน ขอเพียงให้รู้จักชนิดของสมุนไพรและนำมาบำบัดรักษาให้ถูกโรคเท่านั้น ทุกบ้านทุกครอบครัวสามารถปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บได้ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านที่รู้จักกันดี และสามารถปลูกหรือเสาะหาได้ไม่ยากเลยในปัจจุบัน
คณะผู้จัดทำหวังว่าเอกสารฉบับนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้สนใจและใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเรื่อง “พืชสมุนไพร” ในอันดับต่อไปบ้างไม่มากก็น้อย
คณะผู้จัดทำ
15 สิงหาคม 2550
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
คำนำ
สารบัญภาพ
สารบัญตาราง
บทที่ 1 บทนำ 1
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 1
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 1
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 2
สถานที่ที่ทำการศึกษาค้นคว้า 2
ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า 3
บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการศึกษา 9
วัสดุ อุปกรณ์ 9
วิธีดำเนินการศึกษา 9
บทที่ 4 ผลการศึกษา 10
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 32
บรรณานุกรม
สารบัญภาพ
ชื่อภาพ หน้า
ภาพที่ 1 ขี้เหล็ก 10
ภาพที่ 2 มะนาว 11
ภาพที่ 3 ฝรั่ง 12
ภาพที่ 4 กะเพรา 13
ภาพที่ 5 พญายอ 14
ภาพที่ 6 น้อยหน่า 15
ภาพที่ 7 ชุมเห็ดเทศ 16
ภาพที่ 8 หม่อน 17
ภาพที่ 9 มะเขือพวง 18
ภาพที่ 10 ขมิ้น 19
ภาพที่ 11 กล้วยน้ำว้า 20
ภาพที่ 12 กระเทียม 21
ภาพที่ 13 ขิง 22
ภาพที่ 14 ข่า 23
ภาพที่ 15 ว่านหางจระเข้ 24
ภาพที่ 16 ตะไคร้ 25
ภาพที่ 17 กระเจี๊ยบแดง 26
ภาพที่ 18 ฟ้าทะลายโจร 27
ภาพที่ 19 ไพล 28
ภาพที่ 20 บัวบก 29
ภาพที่ 21 ตำลึง 30
ภาพที่ 22 กวาวเครือขาว 31
สารบัญตาราง
ชื่อตาราง หน้า
ตารางที่ 1 สรุป ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ 32
ของพืชสมุนไพรประเภทไม้ยืนต้น
ตารางที่ 2 สรุป ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ 32
ของพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถา
ตารางที่ 3 สรุป ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ 33
ของพืชสมุนไพรประเภทไม้พุ่ม
ตารางที่ 4 สรุป ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ 34
ของพืชสมุนไพรประเภทล้มลุก
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
จากการได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องพืช ในวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ทำให้ทราบว่าพืชมีหลายชนิด ซึ่งพืชแต่ละชนิดก็มีลักษณะและประโยชน์ที่ไม่เหมือนกัน ผู้จัดทำโครงงานได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพรเป็นพิเศษเพราะ ผู้จัดทำโครงงานได้สังเกตเห็น ว่า เมื่อสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข หรือแมว ไม่สบาย มันมักจะไปเล็มหญ้าหรือใบตะไคร้กิน บางทีเวลาถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟลวกมือผู้ใหญ่จะใช้ว่านหางจระเข้มาทาที่แผลโดยบอกว่าช่วยให้แผลหายเร็วและจะไม่เป็นแผลเป็นหรือเป็นรอยด่าง และสังเกตเห็นบ้านแต่ละหลังในหมู่บ้าน ปลูกพืชสมุนไพรบางอย่างไว้ที่บ้าน เพราะสามารถใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆบางอย่างได้สะดวก และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงอยากที่จะศึกษาพืชสมุนไพรในโรงเรียนและในท้องถิ่นว่ามีพืชสมุนไพรอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์และวิธีใช้อย่างไร ขนาดในการใช้เท่าไหร่ จึงจะใช้ให้ถูกกับโรคที่เกิดขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เพื่อเป็นความรู้ให้แก่เพื่อนในโรงเรียน คนในชุมชน และคนทั่วไปที่สนใจ และเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์พืชสมุนไพร โดยให้ปลูกและกระจายพันธุ์ให้มาก เพราะนับวันพืชสมุนไพรจะหายากขึ้นทุกที ผู้จัดทำโครงงานจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อสำรวจพืชสมุนไพรที่พบในโรงเรียนและในท้องถิ่นว่ามีชนิดใดบ้าง
2. เพื่อศึกษา ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้
ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
3. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยอนุรักษ์พืชสมุนไพรในโรงเรียนและ
ในท้องถิ่นของตนเอง
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
สำรวจและศึกษาค้นคว้าพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม
และหมู่บ้านหล่ายงาว
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ
สถานที่ทำการศึกษา
บริเวณโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมและหมู่บ้านหล่ายงาว
ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า
เดือนมิถุนายน 2550 ถึง เดือนสิงหาคม 2550
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า
สมุนไพร (Medicinal plant) ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 หมายถึง พืช ที่นำไปทำเป็นเครื่องยา มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ (หาได้ตามพื้นบ้าน หรือป่า) ส่วนคำว่า “ยาสมุนไพร” ตามพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช 2510 หมายถึง ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ แร่ธาตุ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ แต่การนำไปใช้สามารถดัดแปลงรูปลักษณะเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น อาทิ การนำไปหั่นให้เล็กลง การนำไปบดเป็นผง เป็นต้น การใช้บำบัดอาจใช้แบบสมุนไพรเดี่ยวๆ หรืออาจใช้ในรูปของตำรับยาสมุนไพร
คนไทยเราใช้สมุนไพรต่างๆมาเยียวยาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่สมัยอดีตที่มีวิทยาการแพทย์ยังไม่ก้าวล้ำนำสมัยเฉกเช่นในปัจจุบันนี้สมุนไพร ชนิดต่างๆล้วนมีสรรพคุณเป็นโดยไม่ค่อยจะมีฤทธิ์ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ใดๆอย่างที่ยาฝรั่งสมัยนี้มีแม้ว่าในปัจจุบันจะสะดวกสบายกับยาแผนปัจจุบันที่มีขายอยู่ทั่วไป แต่การเรียนรู้จักสมุนไพรไทยไว้บ้างก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ว่าสมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณทางยาอย่างไร และจะนำมาตำหรือต้มอย่างไรจึงจะถูกทางกับโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านเป็นยาตำรับพื้นๆ เช่น รักษาอาการผดผื่น พุพอง เป็นลมพิษ หรืออักเสบเพราะแมลงกัดต่อย รักษาหิด เหา กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน บรรเทาอาการหอบหืด รักษารังแค ผมร่วงและอาการไม่สบายต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งทำได้ง่ายๆ เพราะมิใช่ตำรับยาที่มีขั้นตอนการปรุงซับซ้อน ขอเพียงให้รู้จักชนิดของสมุนไพรและนำมาบำบัดรักษาให้ถูกโรคเท่านั้น ทุกบ้านทุกครอบครัวสามารถปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บได้ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านที่รู้จักกันดี และสามารถปลูกหรือเสาะหาได้ไม่ยากเลยในปัจจุบัน
การจำแนกพืชสมุนไพร
การจำแนกพืชสมุนไพรสามารถจำแนกได้หลายวิธี ดังนี้
1. การจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์
1.1. สมุนไพรที่ใช้เป็นยา แบ่งได้เป็นยารับประทาน ซึ่งนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคได้ เช่น บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร ใช้แก้ไข้ เป็นต้นและยาสำหรับใช้ภายนอก เป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาบำบัดโรคที่เกิดขึ้นตามผิวหนังแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายเช่น บัวบก ว่านหางจระเข้ ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก เป็นต้น
1.2. สมุนไพรที่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่มพืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบำรุงสุขภาพ เช่น บุก ดูดจับไขในจากเส้นเลือด ส้มแขก ยับยั้งกระบวนการสร้างไขมันจากแป้ง
1.3. สมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องสำอาง เช่น ขมิ้นชัน ไพล อัญชัน ว่านหางจระเข้ มะคำดีควาย เห็ดหลินจือ ที่เป็นส่วนผสมในแชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่นเป็นต้น
1.4. สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตร ได้แก่สมุนไพรที่ใช้ในการป้องกัน กำจัดศัตรูพืช เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เบื่อเมาหรือมีรสขม เช่น สะเดา ยาสูบ ตะไคร้หอม หางไหล หนอนตายหยาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่ใช้ในการ ปศุสัตว์ เช่น ฟ้าทะลายโจร ใช้ผสมอาหารสัตว์เป็นต้น
1.5. สมุนไพรที่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย เช่น โหระพา มะกรูด
2. การจำแนกตามลักษณะภายนอกพืช
2.1 ไม้ยืนต้น (tree) เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นใหม่ ลำต้นเดี่ยว สูงมากกว่า 6 เมตร เจริญเติบโตตั้งตรงขึ้นไป
2.2 ไม้พุ่ม(shrub) เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้ขนาดเล็ก และเตี้ยมีหลายลำต้นที่แยกจากดินหรือลำต้นจะแตกกิ่งก้านใกล้โคนต้น หรือมีลำต้นเล็กๆ หลายต้นจากโคนเดียวกัน ทำให้ดูเป็นกอหรือเป็นพุ่ม
2.3 ไม้ล้มลุก (herb) เป็นพืชที่มีลำต้นอ่อน ไม่มีเนื้อไม้ หักง่าย มีอายุ 1 หรือหลายปี
2.4 ไม้เลื้อยหรือไม้เถา (climber) เป็นพืชที่มีลำต้นยาว ไม่สามารถตั้งตรงได้ต้องอาศัยสิ่งยึดเกาะตามกิ่งไม้ อาศัยส่วนของพืชเกาะ อาจเป็นลำต้น หนวดหรือนามก็ได้
3. การจำแนกตามหลักพฤกษศาสตร์
จำแนกตามลักษณะของโครงสร้างของดอก รวมทั้งความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและวิวัฒนาการพืช โครงสร้างการจำแนกตามหลักนี้ ถือว่าเป็นระบบที่ถูกต้องแน่นอนที่สุด เป็นที่ยอมรับทางสากล โดยพืชที่อยู่ในตละกูลหรือจีนัส(genus) เดียวกันจะบอกความสัมพันธ์และแหล่งกำเนิด มีความต้องการสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต การควบคุมโรคแมลงที่คล้ายคลึง ซึ่งพืชสมุนไพรเหล่านี้จะมีชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อวงศ์ เพื่อจำแนกพืชสมุนไพรได้ถูกต้อง
การเก็บสมุนไพรเพื่อใช้ทำยา
วิธีการเก็บเกี่ยวสมุนไพรเพื่อนำไปใช้ทำยาจะมีผลโดยตรงต่อคุณสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ทางยาสมุนไพรควรเก็บสมุนไพรในวันที่อากาศแห้ง ในระยะที่พืชโตเต็มที่ หรือในช่วงที่พืชสะสมปริมาณของตัวยาไว้ค่อนข้างสูง หลังการเก็บสมุนไพรแล้วควรทำให้แห้งเร็วที่สุดด้วยการตากหรือการอบ เมื่อสมุนไพรแห้งดีแล้ว ควรจัดเก็บให้ดีเพื่อรักษาคุณภาพและฤทธิ์ทางยาไว้
1. การเก็บดอกควรเก็บในตอนเช้าหลังหมดน้ำค้าง โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน หรือบานเต็มที่แล้ว แต่บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่น ดอกกานพลู การเก็บดอกควรเก็บด้วยความ ทะนุถนอม เพราะส่วนดอกมักเสียหายได้ง่าย
2. การเก็บใบ โดยทั่วไปควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด ช่วงที่ใบมีสีเขียวสด ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป ถ้าเป็นใบ ใหญ่ก็เด็ดเป็นใบๆ ล้างให้สะอาดแล้วตากแห้ง ถ้าเป็นใบเล็กให้ตัดมาทั้งกิ่งมัดเป็นกำ แล้วแขวนตากไว้ทั้งกำแห้งดีแล้วรุดออกจากกิ่ง เก็บในภาชนะที่ทึบปิดฝาให้สนิท ถ้าเป็นพืชที่มีน้ำมันไม่ควรตากแดดควรผึ่งลมไว้ในที่ร่ม เช่น กะเพรา สะระแหน่
3. ในกรณีที่เป็นเมล็ดขนาดเล็ก เก็บเมื่อเมล็ดเกือบจะสุก แก่เต็มที่ เพื่อป้องกันการถูกลมพัดให้กระจัดกระจายไปโดยเก็บมาทั้งกิ่ง แล้วมัดรวมเป็นกำแขวนไว้ให้หัวทิ่มลงเหนือถาดที่รองไว้ ในกรณีที่เก็บเมล็ดจากผลให้เก็บผลที่สุกแก่เต็มที่นำมาตากให้แห้ง แล้วจึงเอาเปลือกออก เอาเมล็ดออกมาตากให้แห้งอีกครั้ง พืชสมุนไพรบางชนิดเก็บผลในช่วงที่ยังไม่สุก เช่น ฝรั่งเก็บผลอ่อน ใช้แก้ท้องร่วง แต่โดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่หรือสุกใหม่ๆ แต่อย่าให้สุกจนเละ จะทำให้แห้งยากเมื่อนำไปตากแดด หรืออบ
4. การเก็บรากและหัว ควรเก็บในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบ ดอก ร่วงหมด หรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน ช่วงนี้หัวและรากจะมีการสะสมปริมาณของตัวยาไว้ค่อนข้างสูง
5. การเก็บเมือกหรือยางจากต้นไม้ ให้กรีดรอยลึกๆ ลงบนเปลือกไม้ หรือด้วยการเจาะรูแล้วใช้ถ้วยรอง เมือกหรือยางของต้นไม้บางชนิดอาจเป็นพิษระคายเคืองควรสวมถุงมือ ขณะกรีดยาง สำหรับว่านหางจระเข้ เลือกใบที่อวบแล้วใช้มีดผ่าเปลือกนอกตรงกลางตามแนวยาวของใบ แล้วแหวกเปลือกออก จากนั้นใช้ด้านทื่อของมีดขูดเมือกของว่านหางจระเข้ออก
6. การเก็บเปลือกโดยมากเก็บระหว่างฤดูร้อนต่อกับฤดูฝน จะมีปริมาณยาค่อนข้างสูง และลอกเปลือกได้โดยง่าย
การแปรรูปสมุนไพร
สมุนไพรถูกนำมาใช้สารพัดประโยชน์ และถูกแปรรูปออกมาในแบบต่าง ๆ สิ่งสำคัญสุดของการแปรรูปสมุนไพร คือ การปรุงยา หมายถึง การสกัดเอาตัวยาออกจากไม้ยา ซึ่งสารที่ใช้สกัดตัวยาที่นิยมใช้ได้แก่ น้ำ และเหล้า สมุนไพรที่นำมาเป็นยาตามภูมิปัญญาดั้งเดิม มีรูปแบบดังนี้
1) ต้มกินต่างน้ำ เป็นการต้มยาให้เดือด แล้วต้มด้วยไฟอ่อนอีก 10 นาที จากนั้นเอายากินแทนน้ำ นั่นคือ หิวน้ำแทนที่จะกินน้ำก็กินน้ำยาแทน
2) ต้มเคี่ยว คือการต้มให้เดือดอ่อนๆไปอีก ประมาณ 20-30 นาที
3) ต้มสามเอาหนึ่ง เป็นวิธีการต้มจากน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือเพียง 1 ส่วน มักใช้เวลาในการต้ม 30-45 นาที
2. ยาชง เป็นการสกัดตัวยาด้วยน้ำร้อนเช่นกัน ใช้กับส่วนของต้นไม้ที่บอบบางอ่อนนุ่ม เช่น ใบ ดอก ที่ไม่ต้องการโดนน้ำเดือดนานๆ ตัวยาก็ออกมาได้ วิธีการชงให้เอายาใส่แก้วเติมน้ำร้อนจัดลงไป ปิดฝา ปล่อยไว้จนเย็น ให้ตัวยาออกมาเต็มที่
3. ยาน้ำมัน สำหรับตัวยาบางชนิดจะไม่ยอมละลายน้ำเลย แม้ว่าจะเคี่ยวแล้วก็ตาม (ส่วนใหญ่ยาที่ละลายน้ำได้ดีจะไม่ละลายน้ำมันเช่นกัน) จึงใช้น้ำมันเป็นตัวสกัดยาแทนน้ำ เนื่องจากยาน้ำมันทาแล้วเหนียว เหนอะเปรอะเปื้อนเสื้อผ้า จึงไม่นิยมปรุง ใช้กัน
4. ยาดองเหล้า สำหรับตัวยาที่ไม่ยอมละลายน้ำ กับละลายในเหล้า ได้เช่นเดียวกับตัวยาที่ไม่ยอมละลายในน้ำมันยาดองเหล้ามักจะมีฤทธิ์แรงกว่ายาต้ม เนื่องจากเหล้ามีกลิ่นฉุน และหากกินบ่อย ๆ อาจทำให้ติดได้ จึงไม่นิยมกินกัน จะใช้ต่อเทื่อกินยาเม็ดหรือยาต้มแล้วยังไม่ได้ผล
5. ยาตำคั้นเอาน้ำ เอายามาตำให้ละเอียดและคั้นเอาแต่น้ำออกมา มักใช้กับส่วนของต้นไม้ที่มีน้ำมากๆอ่อนนุ่ม ตำให้แหลกง่าย เช่น ส่วนใบ หัว หรือเหง้า ยาประเภทนี้กินมากไม่ได้เช่นกัน เพราะน้ำยาที่ได้จะมีกลิ่นและรสชาติรุนแรงตัวยาก็จะเข้มข้นมาก ยากที่จะกลืนเข้าไปที่เดียว ฉะนั้นกินครั้งละ 1ถ้วยชาก็พอแล้ว
6. ยาผง คือการเอายาไปอบ หรือตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง ยายิ่งเป็นผงละเอียดมาก ก็ยิ่งมีสรรพคุณดีขึ้น เพราะยาผงจะ๔จะถูกดูดซึม เข้าสู่ลำไส้ได้ง่าย ตัวยาจึงเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็ว ดังนั้น ผงยายิ่งละเอียดยิ่งเป็นผลดี ส่วนยาผงชนิดใดที่กินยากก็ใช้ปั้นเป็นเม็ด หรือที่เรียกว่า เป็นลูกกลอน โดยใช้น้ำเชื่อม น้ำข้าว หรือน้ำผึ้ง เพื่อให้ยาติดกันเป็นเม็ด ส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำผึ้ง เพราะสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่ขึ้นรา
7. ยาฝน เป็นวิธีที่หมอพื้นบ้านใช้มาก วิธีฝนคือ หากภาชนะใส่น้ำสะอาดประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วเอาหินลับมีดเล็กๆ จุ่มลงไปให้หินโผล่เหนือน้ำเล็กน้อย ฝนจนได้น้ำยาสีขุ่นข้นเล็กน้อย กินครั้งละ 1 แก้ว
การปรุงยาสมุนไพร
สมุนไพรนอกจากจะสามารถใช้สดๆกินสดๆหรือกินเป็นอาหารแล้ว ยังมีวิธีการปรุง ยาสมุนไพรเพื่อให้ได้สมุนไพรในรูปแบบที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค ใช้ได้สะดวก มีรสและกลิ่นที่ชวนกิน อีกทั้งพกพาสะดวก เก็บไว้ใช้ได้นาน
1. การชง (Infusion) การชงเป็นวิธีพื้นฐานและง่ายสำหรับการปรุงยาสมุนไพร มีวิธีการเตรียมเหมือนกับการชงชา โดยใช้น้ำเดือดเทลงไปใช้ได้ทั้งสมุนไพรสดและแห้ง ภาชนะที่ใช้ชงควรเป็นกระเบื้องแก้ว หรือภาชนะเคลือบไม่ควรใช้ภาชนะโลหะ
2. การต้ม (Decoction) การต้มเป็นวิธีสกัดตัวยาได้ดีกว่าการชง โดยใช้สมุนไพรสดหรือแห้งต้มรวมกับน้ำ มักใช้รากไม้ กิ่งก้าน เมล็ดหรือผลบางชนิด วิธีการเตรียมทำ โดยการหั่นหรือสับสมุนไพรเป็นชิ้นเล็กๆใส่หม้อต้ม ใส่น้ำให้ท่วมยาสักเล็กน้อย ใช้ไฟขนาดปานกลางต้มจนเดือด แล้วจึงลดไฟให้อ่อน คนยาไปเรื่อยๆเพื่อไม่ให้ยาไหม้ ตามตำราไทยมักจะต้มแบบ 3 เอา 1 คือใส่น้ำ 3 ส่วน ของปริมาณที่จะใช้แล้วต้มให้เหลือ 1 ส่วน ควรทำสด ๆใช้ในแต่ละวัน ไม่ควรทำทิ้งไว้ข้ามคืน
3. การดอง (Tinctuer) การดองด้วยเหล้าหรือแอลกอฮอล์นี้ เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการสกัดตัวยาออกจากสมุนไพร โดยการแช่สมุนไพรสดหรือแห้งในเหล้าหรือแอลกอฮอล์ เหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ที่ละลายน้ำได้น้อย เหล้าหรือแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการดอง นอกจากจะทำหน้าที่สกัดด้วยตัวยาสมุนไพรแล้วยังเป็นตัวกันบูดอีกด้วย ยาดองจึงเก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี
4. การเชื่อม(Syrup) เป็นการเติมน้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้งลงในยาชงหรือยาต้ม เพื่อรักษาไว้ได้ใช้นานๆ เหมาะสำหรับการปรุงยาแก้ไอเพราะน้ำผึ้งมีสรรพคุณบรรเทาอาการไอ และการที่ยามีส่วนผสมของน้ำผึ้งจะทำให้ยามีรสหวาน รับประทานได้ง่าย
5. การสกัดด้วยน้ำมัน(Infused oils) ตัวยาสมุนไพรสามารถถูกสกัดได้ด้วยการแช่หรือทอดในน้ำมันพืช น้ำมันสมุนไพรที่ได้มักจะใช้สำหรับภายนอกร่างกาย เช่น น้ำมันสำหรับนวด การสกัดยาสมุนไพรด้วยน้ำมันทำได้ 2 วิธี คือวิธีร้อน และวิธีเย็น การสกัดด้วยวิธีเย็น ควรทำซ้ำกันหลายๆ ครั้งโดยการเติมสมุนไพรเข้าไปใหม่จะช่วยให้ตัวยาเข้มข้นขึ้น การสกัดด้วยวิธีร้อน จะใช้ต้มสมุนไพรในน้ำมัน ในหม้อ 2 ชั้น คล้ายกับการตุ๋น หรือต้มในน้ำมันโดยตรง
6. ครีม(Cream) ครีมเป็นส่วนผสมของน้ำกับไขมันหรือน้ำมัน เมื่อทาครีมลงบนผิวหนังแล้วเนื้อครีมจะซึมผ่านผิวหนังลงไปได้ ดังนั้นการทำครีมสมุนไพร จะต้องใช้ตัวที่ช่วยผสาน น้ำให้เข้ากับน้ำมัน เรียกว่า Emulisifying Ointment การทำครีมสมุนไพรไว้ใช้เองสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายเดือน โดยเฉพาะถ้าเก็บไว้ในตู้เย็น ถ้าต้องการให้เก็บได้นานกว่านั้นต้องผสมสารที่ช่วยกันบูดลงไป
7. ขี้ผึ้ง(Ointment) ขี้ผึ้งจะไม่เหมือนครีมตรงที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำ จะมีแต่ไขมันหรือน้ำมัน ดังนั้น ขี้ผึ้งจึงไม่ซึมผ่านผิวหนังแต่จะเคลือบผิวหน้าไว้อีกขั้นหนึ่ง จึงเหมาะสำหรับนำมาทาผิวบริเวณที่อ่อนบางหรือบริเวณที่ต้องการปกป้อง เช่น ริมฝีปาก
8. ผง แคปซูล และลูกกลอน (powers Capsuls and Pills) สมุนไพรสามารถบดให้เป็นผงละเอียดแล้วชงน้ำดื่ม หรือโรยผสมอาหาร แต่เพื่อความสะดวกในการรับประทานพกพาและเก็บไว้ได้นานขึ้น ก็สามารถบรรจุในแคปซูล หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนได้ สมุนไพรที่นำมาบดเป็นผงต้องตากให้แห้งสนิท แล้วจึงนำมาบดเป็นผงให้ละเอียด แคปซูล การบรรจุแคปซูล โดยซื้อแคปซูลเปล่าสำเร็จรูปมา แล้วบรรจุผงยาลงไป ยาลูกกลอน เอายาสมุนไพรใส่ชาม เติมน้ำผึ้งทีละน้อย นวดให้เข้า กันจนผงยาทั้งหมดเกาะกันแน่นไม่เหนียวติดมือ ให้สังเกตปริมาณน้ำผึ้งที่ใช้ โดยปั้นลูกกลอนด้วยมือ และถ้าติดมือ ปั้นไม่ได้แสดงว่าน้ำผึ้งมากเกินไป แต่ถ้าแห้งร่วนไม่เกาะกันแสดงว่าน้ำผึ้งน้อยไป
9. ประคบ(Compress) การประคบมักใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดบวมหรือบาดเจ็บที่กล้ามเน้อวิธีง่ายๆ โดยใช้ผ้านุ่ม ๆ จุ่มลงในน้ำต้ม สมุนไพร นำมาประคบไว้บริเวณที่บาดเจ็บ
10. การพอก(Poultice) วิธีนี้คล้ายกับการประคบ แต่จะใช้ส่วนผสมสมุนไพรมาพอกบริเวณที่บาดเจ็บ
บทที่ 3
วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการศึกษา
วัสดุ อุปกรณ์
1. สมุด
2. ปากกา
3. กล้องดิจิตอล
4. หนังสือ
5. ไม้บรรทัด
วิธีดำเนินการศึกษา
1. สำรวจพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณโรงเรียนและในหมู่บ้านหล่ายงาวแล้วจดบันทึกรายละเอียดและถ่ายรูปพืชสมุนไพรแต่ละชนิดไว้
2. สอบถามผู้รู้ในท้องถิ่นว่าพืชสมุนไพรชนิดนี้คืออะไรกรณีที่ไม่รู้
3. นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมา จัดจำแนกประเภทและหาข้อมูลเพิ่มเติม จากหนังสือและ internet ให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ มากที่สุด
4. สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
5. นำเอาพืชสมุนไพรบางชนิดมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพร เพื่อที่จะสามารถรับประทานได้ง่ายและสะดวกขึ้น
บทที่ 4
ผลการศึกษา
จากการสำรวจพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณโรงเรียนและหมู่บ้านขวากเหนือและ ขวากใต้ พบพืชสมุนไพรทั้งหมด 22 ชนิด โดยจำแนกพืชสมุนไพร ตามลักษณะภายนอกพืชเป็น ไม้ยืนต้น 2 ชนิด ไม้พุ่ม 7 ชนิด ไม้ล้มลุก 10 ชนิดและ ไม้เลื้อยหรือไม้เถา 3 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีใช้ ขนาดในการใช้ และใช้กับโรคที่เกิดขึ้น แตกต่างกัน ดังนี้
1. ไม้ยืนต้น
ชื่อไทย ขี้เหล็ก
ชื่อพื้นเมือง ขี้เหล็กแก่น(ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน
(ลำปาง สุราษฎร์ธานี) ขี้เหล็กหลวง
(เหนือ)ขี้เหล็กใหญ่ (กลาง)ผักจี้ลี้
(ชาน-แม่ฮ่องสอน)แมะขี้เหละบะโดะ
(กะเหรียง-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มาเลย์-ปัตตานี) ภาพที่ 1 ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia siamea Limarck
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 10–15 เมตร ใบใหญ่ยาวประมาณ
20 ซม. ประกอบไปด้วยใบย่อย 7–16 คู่ รูปร่างขอบขนาน
ปลายมน หรือขอบขนานเรียวปลายคล้ายรูปไข่ ปลายใบหยัก
เว้าหาเส้นกลางใบเล็กน้อย โคนใบกลม ใต้ใบสีซีดว่าด้านบน
และมีขนเล็กน้อย กว้าง 1–2.5 ซม. ยาว 3–7 ซม. ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ยาวประมาณ 15–30 ซม. ดอกใหญ่ 2–4 ซม.สีเหลืองสด กลีบรองกลีบดอกมักโค้งกลับ มีขน ผลเป็นฝักค่อนข้างหนา กว้าง 1.2–2 ซม. ยาว 15–30 ซม. ภายในมีเมล็ดใหญ่ยาว จำนวน
20–30 เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. ใช้ใบขี้เหล็ก 4-5 กำมือ ต้มเอาแต่น้ำดื่มก่อนอาหาร รักษา
อาการท้องผูก
2. ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาแต่
น้ำดื่มก่อนนอนรักษาอาการนอนไม่หลับ
ภาพที่ 2 มะนาว
ชื่อไทย มะนาว
ชื่อพื้นเมือง โกรยชะม้า (เขมร - สุรินทร์) ปะนอเกล
มะนอเกละ มะเน้าด์เล(กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ปะโหน่งกลยาน (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี)
ส้มมะนาว (ทั่วไป) ลีมานีปีห์ (คาบสมุทรมาเลียใต้)
หมากฟ้า (ชาน - แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurati Folia christmonm Swing
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่ม มีหนามตามต้น ก้านใบสั้น ตัวใบ
รูปร่างกลมรี ขอบใบหยักเล็กน้อย ปลายและโคนใบมน ดอก
เล็กสีขาวอมเหลืองกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกลมเปลือกบางเรียบ
มีน้ำมาก รสเปรี้ยว เปลือกผลมีน้ำมัน กลิ่นหอม รสขม
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผล
สรรพคุณและวิธีใช้ ใช้ผลสดคั้นเอาน้ำมาผสมกับเกลือเล็กน้อย ชงกับน้ำร้อนดื่ม
รักษาอาการไอและขับเสมหะ
2. ไม้พุ่ม
ภาพที่ 3 ฝรั่ง
ชื่อไทย ฝรั่ง
ชื่อพื้นเมือง จุ่มโป่ (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ปัตตานี)
มะก้วย (เชียงใหม่)มะก้วยกา มะมั่น (เหนือ)
มะกา (แม่ฮ่องสอน)มะจีน (ตาก) ยะมูบเตบันยา
(มลายู - นราธิวาส)ยะรัง (ละว้า - เชียงใหม่)
ยามู ย่ามู (ใต้) สีดา (นครพนม)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ฝรั่งไม้พุ่มขนาดใหญ่ประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวผลฝรั่งจัดเป็น
ผลเดี่ยวมีขนาดต่างๆ กัน โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ 6-7 เซนติเมตร บาง พันธุ์มีผลใหญ่กว่าเมื่อแก่ผล
ฝรั่งจะหวานกรอบ และเมื่อสุกเต็มที่เนื้อจะนิ่มและมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลและใบ
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. นำผลฝรั่งอ่อน ๆ มาฝานเอาแต่เปลือกกับเนื้อทิ้งเมล็ดไป ใส่
เกลือเล็กน้อย ให้พอกร่อยๆ แล้วกินรวมกัน หรือจะใช้ต้มน้ำ
ดื่มก็ได้
2. ถ้าใบมีผลใช้ใบประมาณ 10 ถึง 15 ใบ นำมาล้างให้สะอาด
แล้วโขลกให้พอแหลกใส่ลงในน้ำแล้วนำไปต้มให้เดือด ใส่
เกลือพอมีรสกร่อย นำน้ำนั้นมาดื่ม ใช้แก้ท้องร่วง
ภาพที่ 4 กะเพรา
ชื่อไทย กะเพรา
ชื่อพื้นเมือง กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพราขาว กะเพราแดง (กลาง)
ห่อกวอซู่ ห่อตุปลู (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)
อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว - แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum Sanctum Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มล้มลุก ซึ่งอาจสูงถึง 1 เมตร ใบเป็นรูปไข่ บางและ
นุ่ม ลำต้นและใบมีขนปกคลุมทั่วไป ใบมีสีเขียว บางสายพันธุ์
สีม่วงอมแดง ใบมีรสเผ็ดร้อน ใช้รับประทานสดได้ ช่อดอกตั้ง
ตรง โดยมีดอกติดรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. ใช้ใบสดและยอด 1 กำมือ น้ำหนักสดประมาณ 25 กรัม
แห้งประมาณ 4 กรัม ต้มเอาน้ำ สำหรับรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง เหมาะสำหรับเด็ก
2. ใช้ใบสด 3 ใบ ผสมเกลือพอสมควร บดให้ละเอียด ละลายใน
น้ำสุกหรือน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อนที่คลอดได้ราวๆ 2 – 3 วัน
กินเป็นยาขับลม
ภาพที่ 5 พญายอ
ชื่อไทย พญายอ
ชื่อพื้นเมือง พญาปล้องดำ (กลาง) ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องคำ
(ลำปาง) พญาปล้องทอง (ทั่วไป) โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เสลดพังพอนตัวเมีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans Burman f. Lindau
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มแกมเถา ลำต้นและกิ่งก้านเกลี้ยงเป็นมันสูงได้ถึง 3 เซนติเมตรใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปขอบขนานหรือขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบแหลม ก้านใบยาว 0.5 เซนติเมตร ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด กลีบดอกสีแดงเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ยาว3-4 เซนติเมตร ไม่ติดฝัก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. นำใบมาตำให้ละเอียด ผสมกับสุรา ใช้พอกบริเวณที่ถูก
ไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก
2. นำใบมาขยี้ทาบริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย
เพื่อลดอาการอักเสบ
ภาพที่ 6 น้อยหน่า
ชื่อไทย น้อยหน่า
ชื่อพื้นเมือง เตียบ (เขมร) น้อยแน่ (ใต้) มะนอแน่ มะแน่ (เหนือ) มะออจ้า มะโอจ่า
(เงี้ยว-เหนือ) ลาหนัง (ปัตตานี) หน่อเกล๊าะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
หมักเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona squamosa Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มเตี้ยประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวออกดอกเป็นช่อเล็กๆมีผล
ค่อนข้างกลมและมีเปลือกเป็นตุ่มใหญ่โปนออกมาเป็นตุ่มๆ ผล
น้อยหน่าเป็นผลแบบกลุ่มเนื้อสีขาวนุ่มเกิดจากรังไข่แต่ละอันเจริญขึ้นมาอัดแน่นกันและมีส่วนของเปลือกเชื่อมติดกันจนเป็นผลเดียวกันผลแก่ที่สามารถเก็บรับประทานได้จะมีมากในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ เมล็ด
สรรพคุณและวิธีใช้ นำใบน้อยหนา 7-8ใบหรือเมล็ดมาโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำ
ทาบนศีรษะ ทิ้งไว้นาน 1 ชั่วโมง แล้วล้างออกและสระผม
สำหรับฆ่าเหาและทำให้ไข่ฝ่อ ควรระวังไม่ให้เข้าตา
ภาพที่ 7 ชุมเห็ดเทศ
ชื่อไทย ชุมเห็ดเทศ
ชื่อพื้นเมือง ขี้คาก ลับหมืนหลวง หมากกะลิงเทศ (เหนือ) ชุมเห็ดใหญ่ (กลาง) ตะสีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia alata Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบย่อย รูปขอบขนานแกม
รูปรี โคนใบมน ปลายใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ มี
สีแดง ดอกออกเป็นช่อใหญ่ ตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง
มี 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง รูปไข่ เกือบกลมหรือ
รูปซ้อน ผลเป็นฝักรูปใบไม้บรรทัด ฝักแก่สีดำและแตกตาม
ยาว เมล็ดเกือบเป็นรูปสีเหลี่ยม ผิวขรุขระ สีดำ
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ดอก
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. ใช้ช่อดอก 2-3 ช่อ ต้มกินกับน้ำพริกเพื่อระบายท้อง
2. ใช้ใบสด 8-12 ใบผึ่งแดดจนแห้ง แล้วป่นให้เป็นผง ชงกับ
น้ำ เดือด รินน้ำดื่มเพื่อระบายท้อง
3. นำใบสดมาต่ำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นกลาง
หรือเป็นสังคัง
ภาพที่ 8 หม่อน
ชื่อไทย หม่อน
ชื่อพื้นเมือง หม่อน มอน (อีสาน) ซึมเฮียะ (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มลำต้นตั้งตรง มีหลายพันธุ์ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอกเมื่อสุกสีม่วงแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ผล ราก เปลือกราก กิ่ง
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. ใบแก้ไข้ ตัวร้อน กระหายน้ำ แก้ไอ ระงับประสาท ใช้เป็นยา
ขับเหงื่อ แก้เจ็บคอ
2. ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต ดับร้อน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆแก้ธาตุไม่ปกติ
3. ราก ขับพยาธิ
4. เปลือกราก แก้อาการไอ หืด
5. กิ่งหม่อน รักษาโรคปวดข้อ โดยเฉพาะบริเวณบ่าและแขน
ภาพที่ 9 มะเขือพวง
ชื่อไทย มะเขือพวง
ชื่อพื้นเมือง มะเขือพวง (กลาง) มะแคว้งกุลา (เหนือ) หมากแข้ง (อีสาน)
มะเขือละคร (โคราช) เขือน้อย เขือพวง ลูกแว้ง เขือเทศ (ใต้)
มะแว้งช้าง (สงขลา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum indicum Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มยืนต้น ทรงพุ่มสูงกว่า 1 เมตรขึ้นไปถึง 2 เมตร มีผล
ออกรวมกันเป็นกลุ่มหลายๆผล อยู่บนช่อเดียวกัน มีดอกขนาด
เล็ก กลีบดอกสีขาวหรือม่วง เกสรสีเหลือง ผลกลมขนาดเล็ก
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านผลยาว อยู่
รวมกันเป็นช่อกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียวหนาเหนียว ผลแก่
เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อสุกเป็นสีแสดแดง ภายในผลมีเมล็ด
มากมาย
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผล
สรรพคุณและวิธีใช้ ใช้ผลสด 5-10 ผลโขลกให้พอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใส่เกลือ
เล็กน้อยใช้จิบบ่อยๆ หรือจะใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและ เนื้อ สำหรับระงับอาการไอและขับเสมหะ
3. ไม้ล้มลุก
ภาพที่ 10 ขมิ้น
ชื่อไทย ขมิ้น
ชื่อพื้นเมือง ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง) ขี้มิ้น (ใต้)
ตายอ (กะเหรี่ยง - กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มีลำต้นใต้ดิน เรียกส่วนที่เป็นลำต้นว่าเหง้า ลำต้นส่วนที่เหนือ
ดินมีความสูง ประมาณ 1 เมตร ใบมีขนาดยาว 2 – 3 ฟุต
ปลายใบมน ใบมีสีเขียว ดอกมีสีขาวแกมเหลือง มักขึ้นรวมกันอยู่
เป็นกอ ๆ เหง้าจะมีเนื้อสีเหลืองจัด เจริญในดินปนทรายให้เหง้า
มากกว่าปลูกในดินธรรมดา เจริญได้ดีในฤดูฝน
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้า
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. เมื่อถูกยุงกัด จะรู้สึกคันและมีตุ่มขึ้น บริเวณที่ถูกยุงกัด ให้นำ
เหง้าขมิ้นมาขูดเอาเนื้อขมิ้นทาบริเวณที่ถูกกัด จะทำให้หาย
คัน และตุ่มจะยุบหายไป
2. นำผงเหง้าขมิ้นมาผสมกับน้ำฝน คนให้เข้ากัน ใช้ทาบริเวณที่
เป็นกลากเกลื้อนเช้าและเย็น
3. เอาผงเหง้าขมิ้นมาละลายน้ำ ใช้ทาบริเวณที่ถูกยุงกัดบ่อย
4. ผสมเหง้าขมิ้นกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 3-5 เม็ด วันละ 4 ครั้ง
5. นำเหง้าขมิ้นขนาดพอสมควรมาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ เจือน้ำสุกเท่าตัว กินครั้งละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง อาจเติมเกลือเล็กน้อย เพื่อให้กินได้ง่ายขึ้น ใช้รักษาอาการท้องร่วง
6. ผสมผงเหง้าขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆและคนไปเรื่อยๆ จนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง ใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผลหรือจะใช้ขมิ้นที่ล้างให้สะอาดแล้วมาตำจนละเอียดคั้นเอาน้ำใส่แผลสดก็ได้
ภาพที่ 11 กล้วยน้ำว้า
ชื่อไทย กล้วยน้ำว้า
ชื่อพื้นเมือง กล้วยใต้(เชียงใหม่ , เชียงราย) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)
กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (ABB group) ‘Nam Wa’
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มีลำต้นสูงไม่เกิน 3.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม.
กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอ่อน มีปื้นดำเล็กน้อย ด้านในสีเขียวอ่อน ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอขึ้น ปลายป้านด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้ม เครือหนึ่งมี 7-10 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผลผลกว้าง 3-5 ซม ยาว 11-13 ซม มีเหลี่ยมก้านผลสั้นมีความยาวใกล้เคียงกัน เปลือกหนาเมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อสีขาว รสหวาน
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผล
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. หั่นผลกล้วยดิบเป็นชิ้นบาง ๆ ผึ่งให้แห้ง และบดให้ละเอียด
จนเป็นแป้งใส่ขวดโหลไว้ เวลาปวดท้องเนื่องจากโรค
กระเพาะอาหาร เอาผงกล้วยน้ำว้า 1-2 ช้อนโต๊ะ ใส่ลงในถ้วย
และเติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมและคนให้ทั่วกินวันละ 4 ครั้ง
ก่อนอาหารและก่อนนอน
2. ใช้เนื้อกล้วยห่ามกินสด หรือใช้ผงกล้วยน้ำว้าดิบกินรักษาอาการท้องอืด
ภาพที่ 12 กระเทียม
ชื่อไทย กระเทียม
ชื่อพื้นเมือง หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium Sativum Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ
ติดกันแน่นเนื้อสีขาวมีกลิ่นฉุนการปลูกจะใช้กลีบกระเทียมเป็นพันธุ์ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดีกระเทียมจะลงหัวในช่วงที่มีอากาศหนาว ดังนั้นจึงปลูกได้ดีเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศไทย
ส่วนที่ใช้เป็นยา หัว
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. นำใบมีดสะอาดขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อน และฝานหัว
กระเทียมทาถูลงไปทำอย่างนี้ เช้า – เย็น ติดต่อกัน
ประมาณ 10 วัน
2. ฝานหัวกระเทียมทาบริเวณที่เป็นกลาก เช่นเดียวกับข้อ 1
3. ปอกหัวกระเทียมเอาเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ หั่นซอยให้ละเอียดกินหลังอาหารทุกมื้อ สำหรับรักษาอาการ
จุกเสียดแน่น อืดเฟ้อ
ภาพที่ 13 ขิง
ชื่อไทย ขิง
ชื่อพื้นเมือง ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่)
สะเอ (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rosscoc
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชอบสภาพดินปลูกที่ร่วนซุย ระบายน้ำดี ขยายพันธุ์โดยใช้
ท่อนพันธุ์แง่งขิง ตัดขนาดให้มี 1-3 ตาเมื่อเจริญเติบโตครบ
6 เดือน สามารถขุดขายเป็นขิงอ่อนได้ และเมื่อครบ 10 - 12
เดือน สามารถขุดขายเป็นขิงแก่ได้ โดยสังเกตเมื่อขิงแก่จะเริ่ม
ทิ้งใบโทรมลง แต่ลำต้นสะสมอาหารใต้ดินยังอยู่ในสภาพที่
สมบูรณ์
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้า
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. ใช้เหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มรักษา
อาการท้องอืด จุกเสียด ปวดท้อง และคลื่นไส้อาเจียน
2. ฝนเหง้ากับน้ำมะนาว ผสมเกลือเล็กน้อยใช้กวาดคอหรือจิบ
บ่อยๆ ระงับอาการไอและขับเสมหะ
ภาพที่ 14 ข่า
ชื่อไทย ข่า
ชื่อพื้นเมือง กฎกกโรห์นี (กลาง) ข่าหยวก ข่าหลวง (เหนือ)
เสะเออเดย สะเอเชย (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Languas galangal Linnaeus Stuntz
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นก้านกลมแข็ง ใบสีเขียวแข็งหนา มีดอก
จากกอขึ้นไปเป็นช่อใหญ่สี ขาวประสีม่วงแดง ลูกกลม
ขนาดลูกหว้า ลงหัวเป็นปล้องๆ แง่งยาว มีสีขาวอวบ
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้า
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. ใช้เหง้าขนาดเท่าหัวแม่มือ ถ้าเป็นเหง้าสดจะหนักประมาณ
5 กรัม ถ้าแห้งหนักประมาร 2 กรัม ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม
แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง
2. เอาเหง้าข่าแก่ๆ มาล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบาง ๆ หรือทุบ
พอแตก นำไปแช่ในเหล้าโรงทิ้งค้างคืน 1 คืน ทำความ
สะอาดขัดถูผิวหนัง บริเวณที่เป็นกลากหรือเกลื้อนจนแดง
และแสบเล็กน้อย แล้วอาข่าที่แช่ไว้ ทาบริเวณนั้น จะรู้สึก
แสบๆ เย็น ๆ ใช้ทาเช้าและเย็น หลังอาบน้ำทุกวันติดต่อกัน
ประมาณ 2 สัปดาห์ กลากเกลื้อนจะจางหายไปเมื่อหายแล้ว
ควรทาต่อไปอีก 1 สัปดาห์ และต้มเสื้อผ้าทุกชิ้น เพื่อให้
หายขาด
ภาพที่ 15 ว่านหางจระเข้
ชื่อไทย ว่านหางจระเข้
ชื่อพื้นเมือง หางตะเข้ (กลาง) ว่านไฟไหม้ (เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe barbadensis Mills
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก สูง 0.5 -1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว เรียงรอบ
ต้น กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 30-80 เซนติเมตร อวบน้ำมาก
สีเขียวอ่อน หรือเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสี
เหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ดอกยาว50-100 เซนติเมตร
ออกจาดกลางต้น ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่าง
ขึ้นบน แตกได้
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. นำใบมาล้างให้สะอาด โดยเฉพาะตรงรอยตัด ต้องล้างยาง
ออกให้หมดปอกเปลือกทางด้านโค้งออก โดยระวังไม่ให้มือ ถูกชิ้นวุ้น ใช้มีดสับวุ้น และขูดวุ้นออกใส่ถ้วยที่สะอาด นำ น้ำเมือกที่ได้จากวุ้นไปใช้ทางรักษาแผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝี และแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
2. ใช้วุ้นแปะแผลในปากหรือแผลที่ริมฝีปากบ่อยๆแผลจะหาย
เร็วขึ้น
ภาพที่ 16 ตะไคร้
ชื่อไทย ตะไคร้
ชื่อพื้นเมือง คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ไคร(ใต้) จะไคร(เหนือ)
หัวสิงไค(เขมร-ปราจีนบุรี) เซิดเกรย เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cybopogon Sitratus De Candolle Stapf
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง ๐.๗๕ - ๑.๒ เมตร แตกเป็นกอเหง้า
ใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวล
หรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบ
เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง ๑-๒ ซม. ยาว ๗๐-๑๐๐ ซม. แผ่นใบและ
ขอบใบสากและคม ออกดอกยาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้นและราก
สรรพคุณและวิธีใช้ นำตะไคร้ทั้งต้นและรากมา 5 ต้น สับให้เป็นท่อนต้มกับน้ำ 3
ส่วนและเกลือเล็กน้อย ต้มให้เหลือ 1 ส่วน กินครั้งละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ติดต่อกัน 3 วัน สำหรับรักษาอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และจุกเสียดแน่น
ภาพที่ 17 กระเจี๊ยบแดง
ชื่อไทย กระเจี๊ยบแดง
ชื่อพื้นเมือง ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง สมตะเลงเครง ส้มปู กระเจี๊ยบเปรี้ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdarffa Linnaeus
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง1-2 เมตร ลำต้นมีสีแดง อมม่วง ริ้วประดับ และกลีบเลี้ยงอวบน้ำ สีแดง รับประทานได้ ใบขอบเว้าลึก 3 หยัก มีหลายรู)แบบ มักแยกเป็นแฉก รูปหอก ปลายแหลม มีขน หูใบรูปยาวแคบ ร่วงง่าย ดอกมีสีเหลืองอ่อนหรือชมพูอ่อน โคนกลีบสีแดง มี 8-12กลีบ ผลรูปไข่ ปลายแหลมยาว 2.5 เซนติเมตร มีจงอยสั้นๆ มีขนหยาบสีเหลืองคุม เมล็ด สีดำรูปไต
ส่วนที่ใช้เป็นยา กลีบดอก ดอก
สรรพคุณและวิธีใช้ ลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ละลายเสมหะ ขับเมือกใน
ลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ไอ ทำให้สดชื่น ลดไข้ ขับน้ำดี แก้พยาธิตัวจี๊ด
ภาพที่ 18 ฟ้าทะลายโจร
ชื่อไทย ฟ้าทะลายโจร
ชื่อพื้นเมือง คีปังฮี น้ำลายพังพอน ฟ้าทะลาย หญ้ากันงู สามสิบดี คีปังฮี
ซีปังกี ชวนซินเหลียน ซวงซิมไน้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง30-60 เซนติเมตร ลำต้นตรงกิ่งก้านเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปใบหอก กว้าง1-2.5เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร คนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบสีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 2-8 มิลลิเมตร ดอกช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยสีขาวเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบน 2 กลีบ ปากล่าง 3 กลีบ ซึ่ง 2 ข้างมีแถบสีม่วงแดง และกลีบกลางมีแต้มสีม่วงตรงกลางกลีบ ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ยาวได้ 2 เซนติเมตร เมล็ดประมาณ 6 เมล็ดต่อช่อง รูปไข่สีน้ำตาล
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ต้น
สรรพคุณและวิธีใช้ รักษาโรคอุจจาระร่วง และบิด แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน แก้ไข้ ป้องกันหวัด มีฤทธิ์ลดอาการท้องเสีย เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร
ภาพที่ 19 ไพล
ชื่อไทย ไพล
ชื่อพื้นเมือง ปูลอย ปูเลย (เหนือ) ว่านไฟ (กลาง) มิ้นสะล่าง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxburgh
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาล
แกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียวมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อ
หรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้ม
ซ้อนกันใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง
3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้า
ใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้ง รูปกลม
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้า
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. ใช้เหง้าไพลสดหนัก 60 กรัม เกลือเม็ด 7 เม็ด การบูรหนัก 15
กรัม นำมาผสมกัน แล้วตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรง 3-4
ช้อนโต๊ะ คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ เสร็จ
แล้วนำมาผิงบนฝาละมีหรือละมัง ตั้งบนไฟให้ร้อน ประคบ
บริเวณที่ปวดเมื่อย 3-4 ครั้ง จะช่วยให้หานเคล็ดขัดยอก
นำเหง้าไพลสดมาฝนทาบริเวณฟกช้ำบวม หรือเคล็ด
ขัดยอกได้
4. ไม้เลื้อยหรือไม้เถา
ภาพที่ 20 ใบบัวบก
ชื่อไทย บัวบก
ชื่อพื้นเมือง ผักแว่น (ใต้) ผักหนอก (เหนือ)
ปะหนะเอขาเด๊าะ (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica Linaeus Urban
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เลื้อยตามพื้นดิน ใบเป็นรูปไต ขอบใบหยัก ก้านใบยาว
ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้นและใบ
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. นำต้นและใบบัวบกมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็น
แผลจะทำให้หายสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน
2. นำต้นและใบสดมาคั้นเป็นน้ำใบบัวบก เป็นยาแก้ช้ำใน บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
ภาพที่ 21 ตำลึง
ชื่อไทย ตำลึง
ชื่อพื้นเมือง ผักแคบ(เหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis Linnaeus Voigt
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถาขนาดกลาง มือเกาะเดี่ยว ใบเดี่ยว รูปหัวใจ
เว้าเล็กน้อย สีเขียวเข้ม ดอกเดี่ยว สีขาว ผลกลม เหมือนแตงกวา
แต่เล็กกว่ามาก สีเขียวลายขาว เมื่อสุกสีแดงแสด ปลูกเป็นผัก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ
สรรพคุณและวิธีใช้ ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาแก้พิษแมลงสัตว์กัด ต่อย
ภาพที่ 22 กวาวเครือขาว
ชื่อไทย กวาวเครือขาว
ชื่อพื้นเมือง กวาวเครือขาว (เหนือ) ทองเครือ ตามจอมทอง (ชุมพร) กวาวเครือ
กวาว ทองเครือ จานเครือ โพะตะกู ตานเคือ ตานเครือ กวาวเครือ ทองกวาว กวาวหัว (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pueraria candollei Grah.ex Benth var. mirifica
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เถาจะเจริญเติบโตพันหรือยึด
เกาะกับต้นไม้ใหญ่ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ขนาดใหญ่ รูปไข่กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร มีสีเขียว คล้ายกับใบถั่วคล้าดอกเป็นดอกเดี่ยวมีขนาดใหญ่ คล้ายกับดอกแค สีน้ำเงินอมม่วง จะออกดอกเมื่อต้นมีอายุมาก ๆ ผลเป็นฝักแบนมี 2 ชนิด ชนิดหัวขาว หัวแดง หัวแดงมีพิษมาก ไม่นิยมใช้ทำยาทั้งสองชนิดกินมากจะมีพิษ เกิดตามป่าดงดิบเขาสูง มีมากในภาคเหนือ หัวใต้ดินมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15-25 เซนติเมตร มีรูปร่างคล้ายหัวมันแกว
ส่วนที่ใช้เป็นยา หัว เปลือกเถา
สรรพคุณและวิธีใช้ 1. หัวบำรุงกำลังบำรุงเนื้อให้เต่งตึงขึ้น บำรุงสุขภาพให้สมบูรณ์
บำรุงความกำหนัด เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้หน้าอกโต ทำให้
เส้นผมที่หงอกกับดำ และเพิ่มเส้นผม แก้โรคตาฟาง
ต้อกระจก ความจำดี ช่วยให้กินได้ นอนหลับ
2. เปลือกเถา นำมาใช้เป็นยาแก้พิษงู
บทที่ 5
สรุป อภิปลายผล ข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
จากการสำรวจพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมและหมู่บ้าน หล่ายงาว ระหว่างเดือนมิถุนายน 2550 ถึงเดือน สิงหาคม 2550 พบพืชสมุนไพรทั้งหมด 22 ชนิด โดยจำแนกพืชสมุนไพร ตามลักษณะภายนอกพืชเป็น ไม้ยืนต้น 2 ชนิด ไม้พุ่ม 7 ชนิด ไม้ล้มลุก 10 ชนิดและ ไม้เลื้อยหรือไม้เถา 3 ชนิด
จากการศึกษาพืชสมุนไพรที่พบในโรงเรียนและท้องถิ่นมีทั้งหมด 22 ชนิด มีผลการศึกษาดังนี้
ตารางที่ 1 สรุป ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้
ของพืชสมุนไพรประเภทไม้ยืนต้น
ที่
|
ชื่อสมุนไพร
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา
|
วิธีใช้
|
สรรพคุณ
|
1
|
ขี้เหล็ก
|
ใบ
|
ใช้ใบต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอน
|
รักษาอาการนอนไม่หลับ
|
2
|
มะนาว
|
ผล
|
ใช้ผลสดคั้นเอาน้ำผสม เกลือเล็กน้อยชงกับน้ำร้อนดื่ม
|
รักษาอาการไอและขับเสมหะ
|
ตารางที่ 2 สรุป ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้
ของพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถา
ที่
|
ชื่อสมุนไพร
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา
|
วิธีใช้
|
สรรพคุณ
|
1
|
บัวบก
|
ใบ
|
นำใบมาคั้นเป็นน้ำต้มใช้ดื่ม
|
แก้อาการช้ำใน
|
2
|
ตำลึง
|
ใบ
|
ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาแก้พิษ
|
แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
|
3
|
กวาวเครือขาว
|
เปลือกเถา
|
ใช้เปลือกเถามาขยี้ใส่ผิวหนัง
|
แก้เคล็ดขัดยอก
|
ตารางที่ 3 สรุป ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้
ของพืชสมุนไพรประเภทไม้พุ่ม
ที่
|
ชื่อสมุนไพร
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา
|
วิธีใช้
|
สรรพคุณ
|
1
|
ฝรั่ง
|
ใบ
|
ใช้ใบโขลกพอแหลกใส่ลงในน้ำต้มให้เดือดใส่เกลือนำน้ำมาดื่ม
|
แก้ท้องร่วง
|
2
|
กะเพรา
|
ผล
|
ใช้ใบและยอดต้มเอาน้ำดื่ม
|
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง
|
3
|
พญายอ
|
ใบ
|
นำใบมาตำให้ละเอียดผสมสุราใส่แผล
|
รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
|
4
|
น้อยหน่า
|
ใบ , เมล็ด
|
นำใบหรือเมล็ดมาโขลกให้ละเอียดผสมน้ำทาศีรษะทิ้งไว้
|
ฆ่าเหาและทำให้ไข่เหาฝ่อ
|
5
|
ชุมเห็ดเทศ
|
ใบ
|
นำใบมาบดผสมกระเทียมหรือน้ำปูนใสทาที่เป็นกลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
|
รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
|
6
|
หม่อน
|
ใบ
|
นำใบมาต้ม เอาน้ำดื่ม
|
แก้ไข้ ตัวร้อน ร้อนใน
กระหายน้ำ
|
7
|
มะเขือพวง
|
ผล
|
ใช้ผลโขลกให้พอแหลกคั้นเอาแต่น้ำใส่เกลือเล็กน้อยใช้จิบบ่อยๆ
|
ระงับอาการไอและขับเสมหะ
|
ตารางที่ 4 สรุป ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้
ของพืชสมุนไพรประเภทไม้ล้มลุก
ที่
|
ชื่อสมุนไพร
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา
|
วิธีใช้
|
สรรพคุณ
|
1
|
ขมิ้น
|
เหง้า
|
นำเหง้ามาตำจนละเอียดคั้นเอาน้ำใส่แผลสด
|
รักษาแผลสด
|
2
|
กล้วยน้ำว้า
|
ผล
|
หั่นผลดิบ ผึ่งให้แห้ง บดเป็นผงแล้วผสมน้ำผึ้ง ใช้กิน
|
แก้โรคกระเพาะอาหาร
|
3
|
กระเทียม
|
หัว
|
ขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อนทิ้งฝานหัวกระเทียมทาถูลงไป
|
แก้กลากเกลื้อน
|
4
|
ขิง
|
เหง้า
|
ฝนเหง้าขิงกับน้ำมะนาวผสมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
|
ระงับอาการไอและขับเสมหะ
|
5
|
ข่า
|
เหง้า
|
ใช้เหง้ามาทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม
|
แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อและ
ปวดท้อง
|
6
|
ว่านหางจระเข้
|
ใบ
|
นำใบมาปอกเปลือก ขูดเอาวุ้นและใช้น้ำเมือกที่ได้จากวุ้นใส่แผล
|
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
|
7
|
ตะไคร้
|
ต้น
|
สับต้นและรากต้มกับน้ำ3ส่วนใส่เกลือเล็กน้อยจนเหลือ 1 ส่วนเอาน้ำดื่ม
|
รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อจุกเสียดแน่น
|
8
|
กระเจี๊ยบแดง
|
ดอก
|
ใช้ดอกมาต้มเอาน้ำดื่ม
|
แก้อาการขัดเบา ขับปัสสาวะ
|
9
|
ฟ้าทะลายโจร
|
ใบ
|
นำใบผึ่งให้แห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งเป็นยาเม็ดลูกกลอนใช้กิน
|
แก้อาการเจ็บคอ
|
10
|
ไพล
|
เหง้า
|
ผสมเหง้า เกลือและการบูร มาตำให้ละเอียดเติมเหล้า คลุกเคล้าห่อเป็นลูกประคบ ประคบผิวหนัง
|
รักษาอาการปวดเมื่อย
|
อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
จากตารางที่ 1 – 4 สรุป ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ของพืชสมุนไพรทั้ง 22 ชนิด พบว่าพืชสมุนไพรแต่ละชนิดมี ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ ที่แตกต่างกัน แต่ที่เหมือนกันคือ ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วย เล็ก ๆน้อยๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาตามร้านขายยามารับประทานซึ่งสรรพคุณทางยาเหมือนกัน การใช้พืชสมุนไพรชนิดใดรักษาโรคใดนั้นต้องใช้ให้ถูกกับโรคให้ถูกกับชนิดของพืชสมุนไพร ไม่อย่างนั้นอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือมีผล ข้างเคียงต่อผู้ใช้ ซึ่งน่าจะเป็นการรักษาแต่เป็นการเพิ่มอันตรายเสียอีก การใช้ไม่ควรที่จะใช้นานจนเกินไป ถ้าอาการเจ็บป่วยไม่ดีขึ้น หรือมีความผิดปกติหลังใช้ควรที่จะต้องไปปรึกษาแพทย์ทันทีและที่สำคัญควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์พืชสมุนไพรไว้ เพราตอนนี้ค่อนข้างหายาก ซึ่งสามารถปลูกไว้ที่บ้าน ง่ายต่อการรักษาโรคต่างๆ เล็กน้อย ๆที่เกิดขึ้นได้
ดังนั้นถ้ารู้ว่าในโรงเรียนหรือท้องถิ่นที่เราอาศัยอยู่มีพืชสมุนไพรกี่ชนิด มีอะไรบ้าง รู้ ลักษณะสรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ ขนาดในการใช้ ก็สามารถที่จะใช้ความรู้ที่ได้นั้นนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าเกิดคนในครอบครัว ในชุมชน โรงเรียนเกิดเจ็บๆป่วยเล็กน้อยๆ ได้ก็สามารถรักษาได้ทันที และ ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดก่อนไปถึงมือแพทย์
ข้อเสนอแนะ
1. ควรที่จะสำรวจและศึกษาพืชสมุนไพรในพื้นที่ ที่กว้างมากกว่านี้ เพราะพื้นที่อื่น ๆ อาจจะมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่ไม่รู้จักและมีประโยชน์
2. ควรที่จะมีการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรียนให้มาก ๆ
3. ควรที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้มากขึ้นกับนักเรียน และคนในท้องถิ่น
4. ควรที่จะให้คนในชุมชนช่วยกันอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นไว้ให้มาก ๆ
บรรณานุกรม
บรรณานุกรม
พิสมัย มิ่งฉาย.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้...สู่โครงงานวิทยาศาสตร์.งานช่างกรพิมพ์,
2544 . 174 หน้า
สาธารณสุข , กระทรวง.กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.คู่มือการปลูกพืช
สมุนไพรเศรษฐกิจ.2548.168 หน้า
หอรัษฎากรพิพัฒน์, พระบรมมหาราชวัง . คณะกรรมการโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 14 .2512.298 หน้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)